วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สรุป


การวัดและการประเมินผล


แหล่งเรียนรู้


กระบวนการ


ภาระงาน


ขั้นนำ


สัตว์ป่าสงวนของไทย


สัตว์ป่าสงวน


วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สามสิ่งในชีวิต

There are
three things in life
that should not be broken :
toys, heart
and promise.
สามสิ่งในชีวิต
ที่ไม่ควรปล่อยให้แตกหัก
ของเล่น
หัวใจ
และคำมั่นสัญญา

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความคิด สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีมาก่อน หรือเคยมีแล้ว แต่มีการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น มีประสอทธิภาพ และประสิทธิผลเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
นวัตกรรมการศึกษา (Education Innovation)
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลา และช่วยส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น การสอนโดยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม 1. เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน 2. มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วน ข้อมูลที่ใช้เข้าไปใน กระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อที่จะทำการเปลี่ยนแปลง 3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อวิธีการศึกษา ได้แก่ แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างชัดเจน โดยจัดให้มีการศึกษาตามความถนัด ความสนใจ และความสารถของแต่ละบุคคลเป็นเกณฑ์ เช่นการจัดระบบห้องเรียน โดยใช้อายุ หรือความสามารถเป็นเกณฑ์ และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความคิดนี้ ได้แก่
· การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non Graded School)
· แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
· เครื่องสอน (Teaching Machine)
· การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
· การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
· เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมเชื่อว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต่อเมื่อมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างได้ หากสามารถจัดบทเรียนให้เหมาะสมกับระดับความสารถของเด็กแต่ละคน และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความคิดนี้ ได้แก่
· ศูนย์การเรียนรู้ (Learning Center)
· การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
· การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา เดิมการจัดการเรียนการสอน มักจะใช้ความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมงเท่ากันทุกวิชา ทุกวัน และจัดเวลาเรียนไว้เป็นเวลาที่แน่นอนเป็นปี ในปัจจุบันได้มีการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับแต่ละวิชาที่ใช้เวลาสอนไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้เวลาสอนแค่ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง และการเรียนรู้ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความคิดนี้ ได้แก่
· การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
· มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
· แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
· การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความคิดนี้ ได้แก่
· มหาวิทยาลัยเปิด
· การเรียนผ่านทางวิทยุและโทรทัศน์
· การเรียนทางไปรษณีย์แบบสำเร็จรูป
· ชุดการเรียน


นวัตกรรมการเรียนการสอนที่ดี
· ตรงกับความจำเป็นของสถานการณ์ การจัดการศึกษา คือ การมุ่งแก้ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง
· มีความน่าเชื่อถือ และเป็นไปได้สูงที่จะสามารถแก้ปัญหาทางการศึกษาได้ เหตุผลที่สนับสนุนนวัตกรรมที่คิดค้นให้เป็นนวัตกรรมที่น่าเชื่อถือได้ น่าจะมีหลักการ ทฤษฎี หรือวิจัยมารองรับ
· สามารถนำไปใช้ได้ ตามสถานการณ์จริง นวัตกรรมที่ดีจะต้องมีแนวการใช้ หรือแนวปฏิบัติที่สามารถนำไปให้บุคลกรปกติในโรงเรียนหรือหน่วยงานการศึกษาได้ใช้ปฏิบัติได้ง่าย สะดวก อยู่บนพื้นฐานของการประหยัด
· มีผลพิสูจน์เชิงประจักษ์ ว่าได้ทดลองใช้ในสถานการณ์จริงแล้ว สามารถแก้ปัญหา หรือปรับปรุงเพิ่มพูนคุณภาพของการจัดการศึกษาได้เป็นที่น่าพอใจ โดยมีหลักฐานที่ได้จากการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ และเสนอรายงานผลได้อย่างชัดเจน

ประโยชน์ของนวัตกรรมทางการศึกษา
การนำนวัตกรรมไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนนอกจากจะส่งผลให้นักเรียนได้พัฒนาการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของรายวิชาแล้ว ยังเกิดประโยชน์ ดังนี้
· นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
· นักเรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
· ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี
· ลดระยะเวลาในการสอน

กระบวนการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา
· กำหนดจุดประสงค์
· กำหนดกรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนรู้
· สร้างต้นแบบนวัตกรรม
· ทดลองใช้นวัตกรรม
· ผลการทดลอง
1) ใช้ไม่ได้ต้องปรับปรุงต้นแบบ – ทดลอง
2) ใช้ได้ – เผยแพร่นวัตกรรม

ความเป็นมาของนวัตกรรม
การจัดการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษา คุณครูจะต้องจัดกระบวนการเรียนการสอน
ให้สนุกสนาน เพลิดเพลิน และเร้าใจ เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการเรียนรู้ ซึ่งคุณครูจะต้องจัดหาสื่อนวัตกรรมสำหรับประกอบการสอนเพื่อดึงดูดความสนใจแก่ผู้เรียน ดังนั้นจึงได้มีจัดทำเว็บเพจ (Webpage) เรื่อง “สัตว์ป่าสงวนของไทย” ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อใช้เป็นสื่อการสอนในการพัฒนาทักษะของผู้เรียน และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน
วัตถุประสงค์
1. ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าสัตว์ป่าสงวนของไทยมีกี่ชนิด และมีอะไรบ้าง
2. สร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่ผู้เรียนด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า
3. ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญของสัตว์ป่าสงวนของไทย






ทฤษฎีและหลักการ
เว็บเพจ (อังกฤษ: webpage, web page) หรือ หน้าเว็บ หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งานโดยทั่วไป เว็บเพจส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสาร HTML หรือ XHTML (ซึ่งมักมีนามสกุลไฟล์เป็น htm หรือ html) มีลิงก์สำหรับเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น ๆ สามารถใส่รูปภาพและรูปภาพยังสามารถเป็นลิงก์ กล่าวคือสามารถคลิกบนรูปเพื่อกระโดดไปหน้าอื่นได้ นอกจากนี้ยังสามารถใส่แอปเพล็ต (applet) ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็กแสดงภาพเคลื่อนไหว มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือสร้างเสียง ได้อีกด้วยโปรแกรมที่ใช้เปิดดูเว็บเพจ เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ตัวอย่างเว็บเบราว์เซอร์ที่เป็นที่นิยม เช่น อินเทอร์เน็ตเอ็กซ์พลอเรอร์, Netscape, มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์, และ ซาฟารี เป็นต้น
โครงสร้างของนวัตกรรม
ในอดีตที่ผ่านมา ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์ พื้นที่ป่ายังคงปกคลุมไปทั่ว สัตว์ป่ามีอยู่อย่างมากมาย แต่ต่อมาได้มีการขยายตัวของทรัพยากรมนุษย์เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการบุกรุกป่าเพื่อใช้ที่ทำกิน ล่าสัตว์ป่าเป็นอาหาร และล่าเพื่อส่งออกไปยังทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำให้สัตว์ป่าถูกคุกคาม และลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จนบางชนิดได้มีการสูญพันธุ์ไปจากประเทศ
ตามพระราชบัญญัติ สัตว์ป่าสงวน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดสัตว์ป่าสงวนไว้ทั้งหมด 15 ชนิด ได้แก่
1. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
2. สมเสร็จ
3. กวางผา
4. แรด
5. นกแต้วแร้วท้องดำ
6. กระซู่
7. นกกระเรียน
8. กูปรีหรือโคไพร
9. ควายป่า
10. แมวลายหินอ่อน
11. ละองหรือละมั่ง
12. เก้งหม้อ
13. สมัน
14. พยูน
15. เลียงผา
ข้อเด่น
1. เนื้อหาเหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถของผู้เรียน
2. มีลิงก์สำหรับผู้เรียนใช้สืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ตได้
3. ผู้เรียนสามารถใช้อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นได้
4. ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม
5. มีการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ทำให้ผู้เรียนฝึกความกล้าแสดงออก
ข้อด้อย
1. ถ้าผู้เรียนไม่ได้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะไม่สามารถเข้าไปดูที่ลิงก์ของข้อมูลได้
2. ลิงค์ของข้อมูลอาจไม่ครบถ้วนตามความต้องการของผู้เรียน
ข้อเสนอแนะ
1. จากนวัตกรรมชิ้นนี้ สามารถเพิ่มเนื้อหาในเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกันได้
2. สามารถต่อยอดนวัตกรรมชิ้นนี้ไปสู่กลุ่มสาระวิชาอื่นๆ ได้